หลายคนอาจจะสงสัย เอ๊ะ!!เรียนตัดเย็บทำ “แพทเทิร์น”นี่ต้องมีไม้บรรทัดด้วยเหรอ
แล้วฉันต้องมีไม้บรรทัดอะไรบ้างล่ะ ถ้าไม่มีพื้นฐานมาก่อนจะรู้ได้ยังไงว่าต้องใช้ไม้บรรทัดอะไร แล้วแต่ละอันจะต้องใช้ยังไง
มีวิธีการใช้ที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละอันหรือไม่ เหล่าบรรดามือใหม่คงจะหัวหมุนกันแน่ๆ แล้วจะมีใครช่วยอธิบาย ไขข้อข้องใจเหล่านี้ได้บ้างหรือไม่
วันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ดูทีละชิ้นไปเลยค่ะ ว่าไม้บรรทัดแต่ละอันมีวิธีใช้งานอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร ทำไมโรงเรียนบุนกะเราถึงกล้าแนะนำว่า ทุกคนที่เรียนในสายวิชาตัดเย็บและทำ แพทเทิร์น ควรหาซื้อกันไว้เป็นเซตประจำตัว
- เริ่มชิ้นแรกกับ “ไม้ฉาก”
ไว้สร้างเส้นฉากของ แพทเทิร์น ไม่ว่าจะเป็นโครงกระโปรง กางเกง หรือเสื้อ และด้านส่วนโค้งของไม้บรรทัด ยังสามารถใช้สร้างเส้นข้างตัวกระโปรง หรือกางเกง และเส้นเกล็ดต่างๆ ได้อีกด้วย
- ต่อด้วยชิ้นที่สอง “ไม้บรรทัดขนาด 50 เซนติเมตร”
ซึ่งมีหน้ากว้างขนาด 5 เซนติเมตร และมีสเกลเล็กๆด้านในสำหรับไว้วาดส่วนที่เป็นเผื่อเย็บได้โดยง่าย ให้สามารถใช้งานได้คล่องตัว สะดวกสบาย และใช้วัดขนาดต่างๆ บนตัวหุ่นได้เพราะไม้มีความยืดหยุ่นสูง
- ชิ้นที่สาม คือ “ไม้บรรทัดขนาด 30 เซนติเมตร”
ซึ่งมีหน้ากว้างขนาด 1.2 เซนติเมตร และมีสเกลเล็กๆด้านในสำหรับไว้วาดส่วนที่เป็นเผื่อเย็บได้ (แต่จะละเอียดกว่าแบบไม้บรรทัด 50 เซนติเมตร) เหมาะสำหรับการใช้สร้าง แพทเทิร์น ส่วนเล็กๆ เช่น วงคอ วงแขน และยังใช้วัดขนาดต่างๆ บนตัวหุ่นได้เพราะไม้มีความยืดหยุ่นสูง
- และชิ้นที่ 4 กับ “ไม้บรรทัด D Curve”
ใช้วาดเส้นโค้งบริเวณต่างๆ บน แพทเทิร์น เช่น วงแขน วงคอ ซึ่งมีส่วนโค้งในองศาที่พอดี ทำให้ได้แพทเทิร์นที่สวยงาม ได้มาตรฐานระดับโลก
ดูตารางวันเวลาเรียนอัพเดท และค่าเรียน ได้ที่—> https://www.bunkafashion.com/programs/schedule/
Inbox : https://lin.ee/JT3i6pQ