สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานและอยากเริ่มต้นฝึกตัดเย็บด้วยตัวเอง เริ่มตั้งแต่การวัดตัว การใช้อุปรกณ์ตัดเย็บ หรือการเย็บเพื่อซ่อมแซมเสื้อผ้าด้วยตัวเอง การเย็บด้วยมือ (Hand Sewing)และการเย็บด้วยจักร (Sewing Machine) ต่างก็ใช้เทคนิคสำคัญเหมือนกัน แอดมินจะมาแนะนำสำหรับวิธีการใช้งานระหว่างเย็บมือกับเย็บจักร ใช้งานกันอย่างไรบ้าง..
การเย็บเบื้องต้น
การเย็บเบื้องต้น หมายถึง เทคนิคที่เป็นพื้นฐานของการตัดเย็บ การตัดเย็บเสื้อผ้าให้สำเร็จแต่ละชุด จำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเทคนิคแต่ละอย่างอย่างถูกต้อง เทคนิคการตัดเย็บมีทั้งการเย็บด้วยมือและด้วยจักร ทั้งสองวิธีนี้จำเป็นต้องฝึกบ่อยๆ จนกว่าจะใช้ได้อย่างถูกต้องชำนาญ คล่องมือจนสามารถตัดเย็บได้อย่างแม่นยำ
🧵การเย็บมือ (Hand Sewing)
วิธีการเย็บด้วยมือ เป็นวิธีการเย็บเพื่อเก็บรายละเอียดต่างๆ ที่ไม่สามารถใช้จักรทำได้ หรือเป็นการเย็บเพื่อสร้างเครื่องหมายของตำแหน่งส่วนต่างๆ ของส่วนผ้า
-การเย็บชั่วคราว เพื่อนำไปเย็บบนจักรอีกครั้ง
-การเย็บเก็บรายละเอียดดีเทลของงาน
-วิธีการเย็บถักรังดุมของเสื้อผ้า
– การเย็บติดกระดุมบนเสื้อผ้า และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งรายละเอียด มีดังนี้
#️⃣ การใช้ปลอกนิ้ว
การใช้ปลอกนิ้ว เป็นอุปกรณ์ตัวช่วย อุปกรณ์เสริมในการเย็บมือ จะใช้ปลอกนิ้วเพื่อให้ส่งเข็มอย่างถูกต้อง จะใส่ไว้ที่นิ้วกลางมือขวา เพื่อให้ดันโดนหัวเข็มไว้ในขณะที่เดินเข็มไปข้างหน้า
#️⃣การด้น
การเย็บมือด้วยการด้นมีทั้งการด้นถอยหลัง ด้นตะลุย ด้นหัวแขน เป็นการใช้ในการเสริมตะเข็บให้แข็งแรง ใช้ในการเย็บพับชายเสื้อหรือปลายแขนเสื้อของแจ๊คเก็ตแบบมีรองด้านใน หรือใช้วิธีการด้นเพื่อเย็บรูดที่หัวแขน
#️⃣การเนา
การเย็บมือด้วยการเนา เป็นการเย็บทับเอาไว้ชั่วคราวสำหรับยึดตะเข็บหรือรอยพับ แล้วจะใช้ด้ายเนาในการเย็บต่อ และการใช้เนาเพื่อทำรอย ซึ่งจุดประสงค์ในการใช้ คือ
-การเย็บเพื่อใช้ทำเครื่องหมายบอกตำแหน่งส่วนต่างๆ เมื่องานเสร็จสิ้นบนผ้า และการใช้ด้ายแทนการกดรอยบนผ้า
-การเย็บเพื่อลองตัว
-ใช้เพื่อยึดผ้าเอาไว้เวลาเย็บจักร เพื่อไม่ให้ผ้าเลื่อน
-เย็บทับรอยพับเอาไว้พับชาย เพื่อจะได้สอยสะดวก
-ทำให้ตะเข็บเย็บอยู่ตัว
#️⃣ การกันลุ่ยตะเข็บ
เป็นวิธีการเก็บริมผ้าที่ตัดไม่ให้ลุ่ย ในกรณีที่การเย็บผ้าที่ถูกทอขึ้นมาและลุ่ยง่าย การใช้จักรพันริมกันลุ่ยไม่ได้ผล การเย็บมือด้วยการใช้ถักพันริมตะเข็บด้วยมืออาจจะได้ผลมากกว่า หรือแม้กระทั่งการตัดซิกแซก ในกรณีที่ผ้ารอยตัดลุ่ยยาก การใช้วิธีการตัดรอยตัดผ้านั้นด้วยกรรไกรซิกแซก เนื่องจากริมที่ตัดของตะเข็บกลายเป็นรอยเฉลียง จึงทำให้ผ้าลุ่ยยากขึ้น
#️⃣ การสอย
การเย็บด้วยการสอย การสอยซ่อน สอยด้านใน สอยเห็นด้าย สอยข้ามฝั่ง เป็นวิธีการเก็บส่วนที่พับขึ้นของชายเสื้อผ้าหรือปลายแขน เป็นการตรึงผ้าที่ใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการให้เห็นฝีเข็มเด่นด้านหน้า ซึ่งจะมีเทคนิคในการเย็บมีหลายชนิดขึ้นอยู่กับการเก็บด้าย นอกจากนี้ การสอยฟันปลา เป็นวิธีที่ช้ในการเย็บตรึงส่วนเผื่อชายทั้งๆ ที่อยู่ในสภาพริมผ้าที่มากจากการตัด ซึ่งจะทำให้ได้ชายที่นิ่ม
#️⃣ การสอยดำน้ำ
ใช้ในการทำให้ตะเข็บที่ไม่ต้องการตกแต่ง เช่น การติดซิปด้วยการเย็บมือริมเสื้อ ชิ้นหน้า หรือปกล่าง เป็นต้น ให้เรียบอยู่กับตัว
#️⃣ การทำตัวหนอน
มีวิธีที่ใช้มือเย็บ และวิธีที่ทำโดยจักรเย็บผ้า ใช้ในการตรึงส่วนที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น ปลายซิปกางเกง หรือปากกระเป๋า
-การเย็บตัวหนอนด้วยมือ
-การเย็บตัวหนอนด้วยจักร
-การเย็บตัวหนอนแบบเกี่ยวผ้าสองชั้น
#️⃣ การเย็บทำรังดุม
วิธีกำหนดขนาดของรังดุม โดยปกติแล้วขนาดของรังดุมจะคำนวณจากเส้นผ่าศูนย์กลาง ของกระดุมรวมกับความหนาของกระดุม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาทำกระดุมด้วย เนื่องจากวัสดุมีทั้งแบบที่ลื่นและฝืด ดังนั้น ให้กำหนดโดยตัดรังดุมบนผ้าทดลอง แล้วลองเอากระดุมกลัดดูว่าดีหรือไม่ รังดุมที่ดีไม่ควรมีขนาดใหญ่และเห็นเด่นชัดเกินไป และวิธีการถักรังดุมด้วยมือ มีหลายแบบ เช่น การถักรังดุมหัวตัดท้ายตัด การถักรังดุมหัวกุญแจ การถักรังดุมตาไก่ การถักรังดุมหลอก เป็นต้น
ซึ่งรังดุมจะทำที่ชิ้นหน้าบน ส่วนใหญ่เสื้อผ้าสตรีจะอยู่ที่เสื้อชิ้นขวา ส่วนเสื้อผ้าบุรุษจะอยู่เสื้อชิ้นซ้าย ปัจจุบันเสื้อสตรีบางแบบทำรังดุมไว้ที่ตัวเสื้อชิ้นซ้ายก็มีเหมือนกัน
#️⃣ การติดกระดุม
สำหรับด้ายที่ใช้เย็บกระดุม ต้องเลือกใช้โดยคำนึงถึงเนื้อผ้า ความหนาของตำแหน่งที่จะติดกระดุม และน้ำหนักของกระดุมด้วย โดยเฉพาะ กระดุมโลหะจะมีน้ำหนักมาก ทำให้ด้ายขาดได้ง่าย จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการติดกระดุมที่แข็งแรงทนทาน โดยปกติด้ายที่ใช้ถักรังดุมนับเป็นด้ายที่เหมาะสม แต่ก็มีด้ายสำหรับติดกระดุม โดยเฉพาะเหมือนกัน การติดกระดุมมีหลายรูปแบบ
- การติดกระดุมเป๊ก เป็นกระดุมที่ใส่และถอดง่ายกว่ากระดุมธรรมดา ใช้กับดีไซน์ที่เป็นกระดุมประดับ หรือผ้า และลูกไม้ที่นิ่มมากๆ จนติดซิปไม่ได้ และที่ชิ้นหน้าบนจะติดกระดุมตัวผู้ ส่วนชิ้นล่างจะติดกระดุทมตัวเมีย
- การติดตะขอ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นขอเกี่ยว ที่ขอบกระโปรงหรือกางเกง จะใช้ตะขอที่ทำจากโลหะแผ่นที่แข็งแรง ทนทาน ส่วนที่ปลายบนของซิปชุดติดกัน หรือริมปกที่จะให้ชนกัน หรือตำแหน่งที่ผ่าหน้านั้น จะใช้ตะขอที่ทำจากโลหะเส้นสีของตะขอมีทั้งสีดำเงิน และกรมท่า ดังนั้น จึงควรเลือกสีของตะขอให้เข้ากับผ้าเพื่อไม่ให้เห็นเด่นชัดเกินไป
#️⃣การทำห่วง
ห่วงที่ทำมีทั้งแบบห่วงที่ทำจากผ้า และห่วงที่ทำจากด้าย นอกจากนี้ การถักแบบเปีย หรือ เชือก ก็สามารถเอามาทำเป็นห่วงได้เช่นกัน
🧵การเย็บจักร (Sewing Machine)
สิ่งสำคัญในการเย็บจักรคือการเลือกเข็มและด้ายให้เหมาะสมกับผ้า รวมทั้งการปรับสภาพของด้ายบนและด้านล่าง ถ้าสภาพของด้ายตึงเกินไป ก็จะดึงให้รอยเย็บรั้ง แต่ถ้าด้ายหย่อนเกินไป ก็จะทำให้รอยเย็บไม่มั่นคง เมื่อเราแบะตะเข็บ ก็จะทำให้เกิดช่องขึ้นที่รอยตะเข็บ ให้เอาผ้าสองชิ้นประกบกันและลองเย็บดู หลังจากปรับฝีเข็มและสภาพของด้ายจนเข้าที่แล้ว จึงค่อยทำการเย็บจริง ซึ่งวิธีการเย็บจักร มีดังนี้
#️⃣ การดูสภาพของด้าย
สภาพด้ายที่ถูกต้องนั้น สังเกตได้ที่ด้ายบนและด้านล่างไขว้กันที่ตรงกลางความหน้าของผ้าสองชิ้นพอดี
#️⃣ วิธีการเย็บ
-การเย็บเส้นตรง เป็นการเย็บตรงๆ ไปตามรอยที่กด ข้อแนะนำ ให้ทำการเนาหรือใช้เข็มหมุดกลัดไว้ก่อน เพื่อไม่ให้ผ้าที่เย็บประกบกันเลื่อน และให้เย็บย้ำ 2-3 เข็ม ที่จุดเริ่มต้นเย็บและจุดที่เย็บเสร็จเพื่อไม่ให้ด้ายที่เย็บหลุดออก และเพื่อไม่ให้เย็บไม่คด เราอาจใช้ไม่บรรทัดช่วยเย็บ ที่ติดมากับจักรเย็บผ้า หรือตัดกระดาษทรายใช่้แทนไม้บรรทัด ซึ่งก็จะช่วยป้องกันการเย็บเลื่อนได้อีกด้วย
-การเย็บมุม มุมจะมีอยู่หลายแห่่ง เช่น มุมที่ปก กระเป๋า ขอบแขน และริมชิ้นหน้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเป็นมุมแหลม และมุมป้านอีกด้วย
-การเย็บเส้นโค้ง เย็บเส้นโค้งต่างๆ เช่น รอบคอ วงแขน เป็นต้น
-การเย็บเพื่อตกแต่ง เป็นการเดินจักรที่ตะเข็บ หรือปก กระเป๋า เป็นต้น เพื่อหวังผลทางดีไซน์ที่สวยงาม
#️⃣ การกันลุ่ยตะเข็บ
วิธีการกันลุ่ยด้วยจักร
1.วิธีกันลุ่ยด้วยจักรพันริม จำเป็นต้องใช้จักรพิเศษเฉพาะสำหรับงานพันริมเท่านั้น โดยมีวิธีกันลุ่ยตะเข็บไปพร้อมๆ กับตัดส่วนเผื่อเย็บที่เหลือทิ้ง กับอีกวิธีหนึ่งคือการจัดการส่วนเผื่อเย็บให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงเอาไปเดินจักรทีหลัง
2.วิธีกันลุ่ยด้วยจักรซิกแซก เป็นการใช้จักร ซึ่งนอกเหนือจากจะเย็บเส้นตรงธรรมดาแล้ว ยังถักรังดุม หรือเย็บปักลายต่างๆ ได้ด้วย วิธีนี้ทำโดยเดินจักรซิกแซก และตัดผ้าที่ขอบของรอยเดินจักรทิ้งโดยระวังอย่าให้ด้ายขาด
นอกจากนี้วิธีการเย็บกันลุ่ยด้วยจักร มีวิธีอีกมากมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดผ้าที่ใช้หนาหรือผ้าบาง รวมถึงการติดผ้าลูกไม้ ซึ่งลูกไม้จะมีความแตกต่างตรงที่มองเห็นด้านถูกกับด้านผิดได้ยาก การเย็บตะเข็บด้วยจักรพันริม มีวิธีการใช้หลายวิธีเช่นกัน
#️⃣ การเก็บชาย
เป็นการจัดการกับส่วนที่พับกลับขึ้นมาของชาย หรือปลายแขน เป็นต้น ให้เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับผ้า ซึ่งการเก็บชายแบบจักร จะมีวิธีการตกแต่งผ้าไปในตัวอีกด้วย
#️⃣ การทำรังดุมกุ๊น
รังดุมกุ๊นมีอยู่ 2 ประเภท คือ แบบที่เป็นหัวกุญแจ และแบบธรรมดา รังดุมแบบนี้ใช้ผ้าแบบเดียวเสื้อ หรือผ้าอื่นที่มีสีสันเข้ากัน ทำเป็นกุ๊นเล็กๆ รอบรังดุม
#️⃣ การกุ๊นริม
การเย็บแบบจักรเป็นวิธีหุ้มริมที่ตัดให้เป็นแถว ด้วยผ้าเฉลียง (ผ้ากุ๊น) เพื่อไม่ให้ริมผ้าที่ตัดลุ่ย ใช้ในการเก็บริมส่วนที่เผื่อไว้พับบของชายเสื้อที่เป็นผ้าขนสัตว์ หรือเก็บตะเข็บของเสื้อแจ็คเก็ตที่ตัดชั้นเดียว ไม่มีผ้าซับใน นอกจากนี้ ยังใช้เพื่อแตกแต่งรอบปกหรือกระเป๋า รอบคอ และวงแขน โดยเปลี่ยนความกว้างของการกุ๊นให้มีขนาดต่างๆ
🧵การตัดเย็บเบื้องต้น (Pattern Sewing)
โดยหลักสูตรบุนกะแฟชั่น มีคลาสเรียนสอน การตัดเย็บเบื้องต้น (Pattern Sewing) สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานการตัดเย็บมาก่อน หรือ เริ่มจาก 0 เหมาะสำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นอยากตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยตัวเอง และวิธีการใช้อุปกรณ์ตัดเย็บเบื้องต้น คลาสนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ดังนี้
- เรียนรู้พื้นฐานการวัดตัว เรียนรู้เทคนิคการเย็บด้วยมือประเภทต่างๆ ผ่านชิ้นงานที่กําหนด
- เรียนรู้การใช้จักรเย็บผ้าเบื้องต้น และเทคนิคการเย็บโดยการใช้จักร ผ่านชิ้นงานที่กําหนด
- เรียนรู้การเย็บส่วนประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเสื้อผ้า เช่น กระเป๋า กระดุม ตะขอ เป็นต้น
⏩️ สามารถดูคลิปบรรยากาศการเรียนได้ที่นี่
.
สอบถามคอร์สเรียน หรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
📩Inbox : https://lin.ee/JT3i6pQ
☎️Tel. 080-907-3338
.
ดูตารางเรียนและรอบเรียนอัพเดทได้ที่
⏩️ https://www.bunkafashion.com/programs/schedule/