การวาดภาพโครงสร้างเสื้อผ้า อย่าง Flat Drawing สิ่งสำคัญ คือการใส่ดีเทลรายละเอียดของไอเท็มนั้นๆ ที่สามารถอธิบายสื่อสารให้ทีมช่างตัดเย็บหรือช่างแพทเทิร์นเข้าใจ รายละเอียดได้อย่างถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในภายหลัง แอดมินมาแนะนำ ฝึกการวาดเสื้อเบลเซอร์ (Blazer) ดีเทลการวาดจะเป็นอย่างไรไปชมกันเล้ยย
✍🏻 ก่อนวาด ควรวาดเส้นตำแหน่งจุดก่อน
⏩️ เริ่มต้นด้วยการวาดเส้นในแต่ละส่วน ทั้งหมด 6 เส้น
-เส้นกลางหน้าตรงกลาง
-เส้นช่วงไหล่ (shoulder line)
-เส้นช่วงหน้าอก (Bust line)
-เส้นช่วงเอว (waist line)
-เส้นสะโพก (hip line)
-เส้นช่วงเป้า (Crotch line)
ซึ่งการวางเส้นทั้งหมดนี้จะทำให้เรารู้ตำแหน่งของการวาดที่ชัดเจนมากขึ้น
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
✍🏻 วิธีการวาด
#️⃣มาร์คจุดต่างๆ
- ตำแหน่งปกคอเสื้อ ควรรู้ว่าความสูงของปกก่อน และมาร์คจุดไว้
- ตำแหน่งจุดเส้นอก ตรงใต้เส้นปก
- ตำแหน่งความยาวของเสื้อ ให้มาร์คจุดบริเวณเป้าลงมา หลังจากนั้นก็ขีดเส้นไว้
#️⃣วาดตัวเสื้อ
- วิธีการวาดทรงเสื้อแบบปกยาว สามารถวาดกระดุม และรังดุมก่อนได้ เพื่อเห็นพื้นที่ ที่เราจะสามารถวาดตัวเสื้อทรงเคิฟเข้ามาได้ หลังจากนั้นวาดเส้นยาวเพื่อมาร์คจุดตรงเส้นกลางของด้านหน้า และวาดบริเวณปกเสื้อได้ต่อ
#️⃣วาดปกเสื้อ
- เริ่มต้นวาดปกเสื้อเป็นจุดเปิด โดยเริ่มจากบริเวณคอด้านบนและลากยาวลงมาตรงที่เราได้มาร์คจุดด้านหน้าไว้ และวาดอีกด้านหนึ่งเหมือนกัน
- ต่อมาวาดด้านหลังปก ใช้ไม้บรรทัดขีดเส้นแบบเบาๆ และเขียนปกเพิ่มลงไปให้มีความแอ่นเล็กน้อย
- ส่วนด้านในของเสื้อ คือ วาดเส้นผ้าซับในของเสื้อต่อลงมา
#️⃣วาดรูปทรงของเสื้อ จากในรูปจะเป็นลักษณะทรงตรงลงมา
- เริ่มต้นวาดเส้นบริเวณจักแร้ ให้ขยับเผื่อออกมาในช่วงของจักแร้ของแขนแบบพอประมาณ และวาดเส้นทรงเสื้อลงมา วาดทั้งสองข้างซ้ายและขวา
- เส้นช่วงปกเสื้อ วาดเชฟของปกให้มีลักษณะตั้งลงมาบนบ่าได้เลย ส่วนปกด้านบนให้วาดกางออกมา และให้วาดครึ่งนึงช่วงของบ่า ซึ่งทรงปกจะมีลักษณะปาดออกมาด้านนอก ให้วาดเหมือนกันทั้งสองข้าง หลังจากนั้นวาดเคิฟปลายปกลงมาเหนือกระดุม และวาดแบบเปิดปกไว้ ส่วนอีกด้านให้วาดเคิฟเข้ามาดูเหมือนลักษณะไขว้กันด้านใน
#️⃣วาดรูปวงแขนและปลายแขน
- เริ่มวาดจุดตรงบริเวณต่ำกว่าปุ่มไหล่เล็กน้อย ก่อนถึงหัวไหล่ และมาร์คจุดทั้งซ้ายและขวาไว้ หลังจากนั้นใช้ไม้บรรทัดวางขีดเส้นตรงบริเวณหัวไหล่ทั้งสองข้าง ให้สังเกตวงแขนอยู่ในตรงไหน ให้วาดเหนือบริเวณอกลงมาพอประมาณทั้งสองข้างให้มีลักษณะเท่ากัน
- จากในรูป ปลายแขนจะมีลักษณะสั้นกว่าแนวของสะโพก กะโดยประมาณขึ้นมาครึ่งนึงระหว่างช่วงสะโพกและชายเสื้อ หลังจากนั้นวาดปลายแขนได้เลย พร้อมกับปรับหัวแขน และขีดไม้บรรทัดลงมา ค่อยๆแต่งมุมให้เข้ามาเป็นทรงตรง
#️⃣วาดกระเป๋าเสื้อ
- จากในรูป กระเป๋าเสื้อจะอยู่ตรงบริเวณเหนือกระดุม วางไม้บรรทัดขึ้นมาเล็กน้อย และวาดเส้นทั้งสองข้าง ขีดเป็นเส้นคู่ขึ้นมา และวาดลิ้นกระเป๋า ด้านนอกของลิ้นกระเป๋าวาดเคิฟออกมาด้านนอกนิดนึง เพื่อให้ดูมีมิติ เหมือนเป็นกระเป๋าที่สามารถเปิดออกมาได้ จากนั้นเขียนลายตัดต่อ จากกระเป๋าวาดขึ้นมาถึงบริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง
#️⃣วาดกระดุมปลายแขนเสื้อ
- จากในรูป วาดกระดุมทั้งสามเม็ดและรังดุมบริเวณปลายแขน บริเวณต่ำกว่าเส้นสะโพก หรือสามารถนำไม้บรรทัดที่มีวงกลมเล็กๆ นำมาวาดได้เช่นกัน
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
✍🏻 วิธีการตัดเส้น
ก่อนจะใช้ปากกาตัดเส้น แนะนำให้ลบเส้นที่ไม่ใช้ออกก่อน
#️⃣อุปกรณ์
- ปากกาตัดเส้น เบอร์ 003,01,03,08
หมายเหตุ : แต่ละเบอร์จะมีวิธีการใช้วาดที่แตกต่างกันไป
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
#️⃣ตัดเส้นใช้เบอร์ 01 :ใช้สำหรับวาดรอยตัดต่อ บริเวณที่ผ้ามาชนกัน
- ด้านซับในบริเวณปกลงมา
- บริเวณไหล่ที่วาดยกขึ้นมา
- บริเวณวงแขน
- กระเป๋าที่บริเวณอก และกระเป๋าด้านล่างของเสื้อ
- จุดที่สำคัญ ที่ห้ามลืมของการตัดเส้นบริเวณปกเสื้อ ซึ่งปกเสื้อจะมีลักษณะการเย็บบนและล่างติดกัน ไม่สามารถแยกบนและล่างออกมาได้ เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องมีการใช้ ปากกาตัดเส้นเบอร์ 01 วาดตัดแยกช่วงระหว่างบนและล่าง
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
#️⃣ตัดเส้นใช้เบอร์ 03 : ใช้สำหรับบริเวณที่เปิดด้าย เช่นบริเวณปก ปากกระเป๋า หน้าซิป
- เริ่มบริเวณความสูงของปก เวลาวาดตัดเส้นอย่าตัดถึงขอบสุด ให้ขยับลงมาเล็กน้อยและวาดเส้นตัดลงมายาวถึงชายเสื้อ และวาดปกอีกฝั่งโดยใช้ความสูงของปกให้เท่ากัน
- วาดบริเวณช่วงที่ปกเปิดออกมาทั้งสองข้าง
- วาดขีดเส้นทับบริเวณกระเป๋าบนอกทับอีกรอบ และบริเวณลิ้นกระเป๋าด้านล่างของเสื้อ
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
#️⃣ตัดเส้นใช้เบอร์ 003 : เส้นเล็กที่สุด ใช้สำหรับวาดรายละเอียด เช่น กระดุม รอยเข็ม พวกดีเทลรายละเอียดเล็กน้อย
- วาดบริเวณซับในเสื้อ ที่มีจีบอยู่ด้านใน
- วาดบริเวณรังดุม และกระดุมทั้งหมดของเสื้อ
- วาดทรงเสื้อด้านใน และค่อยใช้เบอร์ 08 ตัดเส้นบริเวณด้านนอกของเสื้อ
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
#️⃣ตัดเส้นใช้เบอร์ 08 : ใช้สำหรับ ตัดขอบด้านนอก ให้มีความหนาและชัดเจน
หมายเหตุ : ถ้าไม่มีเบอร์ 08 สามารถใช้เบอร์ 05 ได้เช่นกัน แต่อาจจะให้วาดเน้นเข้มกว่า 03
- วาดตัดเส้นบริเวณด้านนอกทั้งหมดของเสื้อ
- บริเวณชายเสื้อวาดยกขึ้นเล็กน้อย ให้รู้สึกดูมีซ้อนทับกัน
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
⏩️ ท้ายสุดๆ สิ่งสำคัญหลังจาก การวาด Flat Drawing คือการใส่ดีเทลรายละเอียดต่างๆ ของเสื้อผ้าชิ้นนั้นๆ ที่สามารถอธิบายสื่อสารให้ทีมช่างตัดเย็บหรือ แพทเทิร์นเข้าใจรายละเอียดได้ถี่ถ้วน และแม่นยำ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในภายหลัง ซึ่งโดยปกติถ้าหากเป็นชุดมาตรฐาน ช่างแพทเทิร์นจะรู้รายละเอียดในส่วนนี้อยู่แล้ว แต่ถ้าเราอยากปรับตกแต่งเสื้อผ้าของตัวเองให้มีดีเทลเพิ่มเติมเป็นพิเศษ รายละเอียดเหล่านี้ ก็ถือว่าจำเป็นอย่างมากเช่นกัน เช่น
- กระดุม ใช้วัสดุพิเศษที่เม็ดใหญ่กว่าปกติ ระบุจำนวนกี่เม็ด และที่สำคัญ อย่าลืม ระบุขนาดไซส์ขนาดของกระดุม
- บริเวณตำแหน่งติดกระเป๋า ระบุความยาวเท่าไหร่
- ลักษณะของผ้า สามารถเขียนใส่รายละเอียดด้านหน้า หรือใช้ชิ้นส่วนของผ้าแปะในใบที่วาดได้เช่นกัน เช่น ผ้าด้านนอกและด้านใน ใช้ผ้าอะไร กี่เปอร์เซ็น สีอะไร ระบุให้ชัดเจน และรายละเอียดอื่นๆ เป็นต้น
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
.
สอบถามคอร์สเรียน หรือขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
📩Inbox : https://lin.ee/JT3i6pQ
☎️Tel. 080-907-3338
.
ดูตารางเรียนและรอบเรียนอัพเดทได้ที่
⏩️ https://www.bunkafashion.com/programs/schedule/